ตอบปัญหาไขข้อข้องใจด้านสุขภาพ
แจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ เพื่อให้ใช้อำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขเข้าไประงับเหตุรำคาญจากการสูบกัญชา
เจ้าพนักงานท้องถิ่นเช่นใครบ้าง
- ในพื้นที่ กทม. คือ ผู้ว่า กทม. /ผอ. เขตที่ผู้ว่าฯ กทม.มอบอำนาจ
- ในพื้นที่ เทศบาล คือ นายกเทศมนตรี
- ในพื้นที่ อบต. คือ นายก อบต.
แจ้งตำรวจได้ เนื่องจากการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายเป็นเหตุเดือดร้อนรำคาญตามมาตรา 397 ตามประมาลกฎหมายอาญา
“ที่หรือทางสาธารณะ” ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข หมายถึง สถานที่หรือทางซึ่งไม่ใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือสัญจรได้ เช่น สวนสาธารณะ ป้ายรถเมล์ ริมฟุตบาท/ ทางเท้า (ใช้อำนาจมาตรา 27 พ.ร.บ. สธ. )
กรณี วัด สถานศึกษา สถานที่ราชการ แม้ว่าจะเป็นสถานที่ที่ประชาชนจะสามารถเข้าไปใช้บริการก็ตาม แต่ไม่ถือว่าเป็นที่หรือทางสาธารณะ โดยเป็นสถานที่เอกชนและมีสถานะเป็นนิติบุคคล (ใช้อำนาจตามมาตรา 28 พ.ร.บ. สธ.)
แจ้งได้ โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือ แจ้งตำรวจ ในพื้นที่เกิดเหตุ โดยเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีอำนาจตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ. สธ. เข้าไปในอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการ เพื่อตรวจสอบแนะนำให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารระงับเหตุรำคาญได้ หากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้แก้ไขหรือระงับเหตุรำคาญ (มาตรา 28) หากไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมพยานหลักฐานส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการเปรียบเทียบ (โทษปรับไม่เกิน 25,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ) ทั้งนี้ ถ้าหากผู้ต้องหาไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ คณะกรรมการเปรียบเทียบจะมีมติและแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นไปแจ้งความต่อตำรวจ (เจ้าพนักงานสอบสวน) เพื่อดำเนินคดีทางอาญาต่อไป เนื่องจากโทษตาม พ.ร.บ. สธ. เป็นโทษทางคดีอาญา
คณะกรรมการเปรียบเทียบ
- ในเขต กทม. (ผู้แทน กทม. , ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, และผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นกรรมการ ผู้ว่าฯ กทม. แต่งตั้งข้าราชการ กทม. เป็นเลขานุการ)
- ในเขตจังหวัดอื่น (ผู้ว่าราชการจังหวัด, อัยการจังหวัด, ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด เป็นกรรมการ นายแพทย์ สสจ. เป็นเลขานุการ)
แจ้งได้ โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือ แจ้งตำรวจ ในพื้นที่เกิดเหตุ โดยเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีอำนาจตามมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ. สธ. เข้าไปในอาคารสถานประกอบกิจการ เพื่อแนะนำให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารระงับเหตุรำคาญได้ (มาตรา 28)
เนื่องจากสถานบันเทิง มีลักษณะกิจกรรมที่เข้าข่ายเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข เจ้าพนักงานท้องถิ่น จึงมีอำนาจหน้าที่แนะนำ ตรวจสอบและควบคุมให้สถานบันเทิง ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐ อีกด้วย (ข้อ ๘ ที่กำหนดให้สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และข้อ ๒๒ ที่กำหนดให้สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง มลพิษทางอากาศ จะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรําคาญหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้น) หากพบว่ามีการฝ่าฝืนกฎกระทรวงฯ ดังกล่าว มีโทษปรับไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท อีกทั้ง ยังมีอำนาจสั่งพักใช้ / เพิกถอนใบอนุญาตได้ด้วย
ทั้งนี้ ราชการส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการตรวจตราเชิงรุก เพื่อเฝ้าระวังหรือแนะนำให้สถานประกอบกิจการ จัดให้มีการระบายอากาศที่มีประสิทธิภาพ หรือจัดบริเวณหรือสถานที่ไว้สำหรับการสูบไว้เป็นการเฉพาะ โดยไม่ควรปะปนกับลูกค้าในร้านอาหาร/สถานบันเทิง นอกจากนี้ กรณีการขอรับใบอนุญาตรายใหม่ หรือกรณีการต่ออายุใบอนุญาต ราชการส่วนท้องถิ่นอาจกำหนดเป็นเงื่อนไขท้ายใบอนุญาตเพื่อให้ผู้ประกอบกิจการปฏิบัติเกี่ยวกับมาตรการป้องกันกลิ่น ควัน จากกัญชง กัญชา เป็นการเฉพาะก็ได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่ต้องเข้า สามารถดำเนินการได้ตามข้อ (1) หรือข้อ (2) ดังนี้
1. แจ้งความต่อตำรวจ (เจ้าพนักงานสอบสวน) เพื่อดำเนินคดีทางอาญาได้ เนื่องจากการขัดขวางหรือไม่ยินยอมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเข้าสถานที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือรวบรวมพยานหลักฐาน ถือว่ามีความผิดเข้าข่ายขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 44 แห่งพรบสาธารณสุขต้องระวังโทษตามมาตรา 79 แห่งพรบสาธารณสุข
คือจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทเกิดทั้งจำทั้งปรับ หรือ
2. ส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการเปรียบเทียบ เพื่อดำเนินการพิจารณาเปรียบเทียบ โดยเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหนังสือแจ้งผู้ต้องหามาพบ เพื่อรับทราบข้อกล่าวหา และจัดทำบันทึกคำให้การของผู้ต้องหา และรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด และส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการเปรียบเทียบ เพื่อพิจารณาโทษตามมาตรา 79 พ.ร.บ. สธ. ที่กำหนดว่า หากผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ที่มีอำนาจหน้าที่มาตรา 44 ต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย ได้จัดทำแนวทางการตรวจสอบเหตุรำคาญกลิ่นหรือควันกัญชา สำหรับเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ดังนี้
1. การตรวสอบข้อมูลเบื้องต้น
1.1 ข้อมูลสถานที่ที่ถูกร้องเรียน และลักษณะการกระทำที่ทำให้เกิดผลกระทบจากกลิ่นหรือควัน
1.2 ข้อมูลผู้ร้องเรียนหรือผู้ได้รับผลกระทบ เช่น สถานที่หรือบริเวณที่ได้รับผลกระทบ ระยะห่างจากแหล่งกำเนิดกลิ่น ช่วงเวลาที่ได้รับกลิ่น บริเวณที่ได้รับกลิ่นมากที่สุด ความถี่และความยาวนานของการได้รับกลิ่น
2. การรวบรวมข้อมูลหรือข้อเท็จจริง
2.1 ลงพื้นที่ตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยการสอบถามและรวบรวมพยานหลักฐานทั้งจาก ผู้ร้องเรียน ผู้ถูกร้องเรียน ประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงถึงลักษณะหรือการกระทำอันเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ
2.2 ข้อมูลที่ต้องรวบรวม ได้แก่ สถานที่และลักษณะหรือการกระทำที่ก่อให้เกิดกลิ่นหรือควัน สถานที่หรือบริเวณที่ได้รับผลกระทบ ระยะห่างจากแหล่งกำเนิดกลิ่น ช่วงเวลาที่ได้รับกลิ่น บริเวณที่ได้รับกลิ่นมากที่สุด ความถี่และความยาวนานของการได้รับกลิ่น การสอบถามประชาชนอย่างรอบด้านทั้งที่ร้องเรียนและไม่ร้องเรียน รวมถึงผลกระทบที่ได้รับ รวมถึงอาจมีการถ่ายภาพ บันทึก VDO เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานเชิงประจักษ์
2.3 หากจำเป็นต้องมีการตรวจพิสูจน์กลิ่นหรือควัน ให้คำนึงถึงช่วงเวลาที่ผู้ร้องเรียนแจ้งว่าได้รับกลิ่นเป็นประจำหรือได้รับกลิ่นแรงหรือระดับความเข้มกลิ่นสูง โดยผู้ตรวจสอบอาจใช้แบบบันทึกข้อมูลการเฝ้าระวังกลิ่นภาคสนาม (Odor Survey Record) และทำการเฝ้าระวังกลิ่นด้วยการดม เพื่อประเมินการรับรู้กลิ่นและระดับความแรงของกลิ่นที่ได้รับ โดยให้บันทึกข้อมูลการรับรู้กลิ่นและระดับความแรงของกลิ่นที่ผู้ทำการตรวจสอบกลิ่นได้รับ ลงในแบบบันทึกข้อมูล เพื่อประกอบการวินิจฉัยเหตุรำคาญ
2.4 การวินิจฉัยเหตุรำคาญ ให้พิจารณาจากข้อมูลและพยานหลักฐานที่รวบรวมมาประกอบกัน โดยให้คำนึงถึงช่วงเวลาที่ได้รับผลกระทบ ระยะเวลาและความถี่ของการได้รับผลกระทบ ผู้ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะที่เป็นกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มเปราะบาง
2.5 หากพิจารณาแล้วพบว่า ผู้ก่อเหตุได้กระทำให้เกิดกลิ่นหรือควันจนเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อน รำคาญจริง ให้แจ้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และเหตุผลของการกระทำผิดให้ผู้ก่อเหตุทราบ โดยให้เจ้าพนักงานออกคำแนะนำแก่ผู้ก่อเหตุปรับปรุงแก้ไขปัญหาเหตุรำคาญ และดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
แบบบันทึกข้อมูลการเฝ้าระวังกลิ่นภาคสนาม.pdf |
ขนาดไฟล์ 0.12 MB
|
ดาวน์โหลด |
หลังจากประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 5 พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับในวันที่ 9 มิถุนายน 2565 มีผลให้จะเหลือเพียงสารสกัดกัญชา กัญชง ที่มีปริมาณ THC มากกว่า 0.2% ที่ยังถือว่าเป็นยาเสพติด แต่ส่วนอื่นๆ ของกัญชา กัญชง ไม่จัดเป็นยาเสพติดอีกต่อไป ซึ่งส่งผลให้สามารถนำส่วนต่างๆ ของพืชกัญชา กัญชง มาพัฒนาและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง และสมุนไพร รวมถึงการใช้เพื่อการสันทนาการได้ สำหรับประเด็นนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โทร. 0 2590 7770 อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขอยู่ระหว่างการยก (ร่าง) พระราชบัญญัติกัญชา พ.ศ. .... ซึ่งเป็นบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมการใช้กัญชา ดังนั้น ในระหว่างนี้จึงต้องมีความระมัดระวังการใช้กัญชา เนื่องจากมีทั้งประโยชน์และโทษ การใช้ประโยชน์จากกัญชานั้นต้องใช้บนฐานความเข้าใจ และให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย ที่คำนึงถึงเสรีภาพควบคู่กับการรักษาสิทธิของประชาชน การใช้สิทธิของคนหนึ่งก็ต้องไม่กระทบสิทธิของคนอื่น ๆ หรือ ไม่กระทบประโยชน์สาธารณะด้วย ที่สำคัญต้องไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญ มิเช่นนั้นอาจได้รับโทษตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
กรมอนามัย มีข้อแนะนำสำหรับประชาชน และผู้ประกอบกิจการ ดังนี้
1. ประชาชน และผู้ประกอบกิจการอาหาร ควรทำ ปรุง ประกอบอาหารที่มีส่วนประกอบกัญชาในปริมาณที่เหมาะสม กรณีร้านอาหารควรมีคำเตือนสำหรับผู้บริโภคสำหรับเมนูที่ใช้กัญชาเป็นส่วนประกอบในอาหาร เพื่อให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ โดยศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ประกาศกรมอนามัย เรื่อง การนำใบกัญชามาใช้ในการทำ ประกอบ หรือปรุงอาหารในสถานประกอบกิจการอาหาร พ.ศ. 2565 นอกจากนี้ ประชาชน ควรมีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐ สอดส่องดูแลการใช้ประโยชน์จากกัญชา กัญชง ของผู้ประกอบกิจการอาหาร และการป้องกันเหตุรำคาญจากกลิ่น หรือควันกัญชา กัญชง ทั้งนี้ หากได้รับผลกระทบต่อสุขภาพหรือได้รับความเดือดร้อนรำคาญจากกลิ่นหรือควันกัญชา กัญชง สามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนเหตุรำคาญไปยัง อปท. (เทศบาล / อบต./ กทม. / เมืองพัทยา) ในพื้นที่เกิดเหตุได้โดยตรง หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกฎหมาย กรมอนามัย โทร. 0 2590 4183 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กรมอนามัย /เว็บไซต์กองกฎหมาย กรมอนามัย หรือโทรศัพท์ปรึกษาได้ที่ คลิกนิกกฏหมาย กรมอนามัย โทร. 0 2590 4183
2. ห้ามใช้กัญชาในทางที่ไม่เหมาะสม ห้ามใช้เพื่อนันทนาการ เช่น การสูบ เนื่องจากจะมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งผู้สูบและผู้ที่ได้รับสัมผัสควันกัญชามือสอง และอาจมีผลข้างเคียงรุนแรงทางจิต
3. กลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ทารก สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีประวัติซึมเศร้าหรือป่วยด้วยโรคจิตเภท ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสควันกัญชา
4. สถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ ร้านอาหาร หรือสถานที่อื่นใด ห้ามส่งเสริมหรือจัดให้มีการรวมกลุ่มเพื่อใช้กัญชาในทางที่ไม่เหมาะสมหรือเพื่อนันทนาการ และต้องควบคุมดูแลไม่ให้มีการใช้กัญชาที่ไม่เหมาะสมในสถานที่โดยเด็ดขาด
5. ผู้ที่ใช้กัญชา รวมถึงผู้ประกอบกิจการหรือผู้ครอบครองอาคาร ที่ส่งเสริมหรือจัดให้มีการใช้กัญชาใน ทางที่ไม่เหมาะสมหรือเพื่อนันทนาการ และก่อให้เกิดปัญหากลิ่นหรือควันส่งผลกระทบต่อผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง ถือว่ากระทำการอันเป็นเหตุรำคาญ ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติกาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ผู้ถูกร้องเรียน หากฝ่าฝืนคำสั่งทางปกครองของเจ้าพนักงานท้องถิ่นดังกล่าวข้างต้น มีโทษจำคุก ไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากคณะกรรมการเปรียบเทียบได้มอบหมาย เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือ ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายให้มีอำนาจเปรียบเทียบไว้แล้ว กรณีนี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมาย ก็จะมีอำนาจเปรียบเทียบได้ด้วย
ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข มาตรา 85 กำหนดให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบ
(1) ในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ผู้แทนกรุงเทพมหานคร ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นกรรมการ และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งข้าราชการในสังกัดกรุงเทพมหานครเป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการอีกไม่เกินสองคน
(2) ในเขตจังหวัดอื่น ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด อัยการจังหวัด และผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด เป็นกรรมการ และให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นเลขานุการ และให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด แต่งตั้งข้าราชการในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้ช่วยเลขานุการอีกไม่เกินสองคน
ประชาชนที่ได้รับผลกระทบหรือได้รับความเดือดร้อนจากการใช้กัญชา กัญชง ดำเนินการได้ดังนี้
1) หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนรำคาญจากกลิ่นหรือควันกัญชา กัญชง สามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนเหตุรำคาญไปยัง อปท. (เทศบาล / อบต./ กทม. / เมืองพัทยา) ในพื้นที่เกิดเหตุได้โดยตรง หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกกฎหมาย กรมอนามัย โทร. 0 2590 4183
2) เมื่อได้รับแจ้งเรื่องร้องเรียนเหตุรำคาญจากกลิ่นหรือควันจากการสูบกัญชา กัญชง หรือพืชอื่นใด ให้เจ้าพนักงานตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
3) หากตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วพบว่า
3.1) กรณีเรื่องร้องเรียนไม่เป็นเหตุรำคาญ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งผู้ร้องเรียนทราบ และยุติเรื่อง
3.2) กรณีเรื่องร้องเรียนนั้นเข้าข่ายเป็นเหตุรำคาญ
- ให้เจ้าพนักงานพิจารณาออกคำแนะนำเพื่อให้ผู้ก่อเหตุปรับปรุงแก้ไขปัญหาเหตุรำคาญ โดยให้ระบุสาเหตุและข้อเท็จจริงที่ตรวจพบ รวมทั้งระบุข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข มาตรการหรือวิธีการที่ใช้ในการแก้ไขหรือปรับปรุงให้เหตุรำคาญนั้นระงับไปภายในระยะเวลาที่กำหนด
- ให้เจ้าพนักงานติดตามตรวจสอบการดำเนินการตามคำแนะนำของเจ้าพนักงาน หากผู้ถูกร้องเรียนไม่ดำเนินการตามคำแนะนำ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งทางปกครอง โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 27 (กรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในที่หรือทางสาธารณะ) หรือ มาตรา 28 (กรณีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในสถานที่เอกชน) แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี เพื่อให้ผู้ก่อเหตุดำเนินการปรับปรุงแก้ไข หรือระงับเหตุรำคาญ
- กรณีผู้ถูกร้องเรียนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครอง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นส่งเรื่องให้ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
- กรณีผู้ถูกร้องเรียนปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครอง เรื่องยุติ ให้เจ้าพนักงานแจ้งผลการดำเนินการให้ ผู้ร้องเรียนทราบต่อไป