คุณกำลังมองหาอะไร?

ศึ

ศึกษาการพัฒนาตลาดและการควบคุมดูแลตลาดประเภทที่ 1 ในเขตเทศบาล

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

03.02.2564
86
0
แชร์
03
กุมภาพันธ์
2564

ศึกษาการพัฒนาตลาดและการควบคุมดูแลตลาดประเภทที่ 1 ในเขตเทศบาล

ลีนา ตังกนะภัคย์ : นักวิชาการสาธารณสุข 8

วรรณา แซ่ฟู่ : นักวิชาการสาธารณสุข 7 ศูนย์อนามัยที่ 12 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

อัจฉรีย์ นิโรธ : นักวิจัยอิสระ

 

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาตลาดประเภทที่ 1 ของเทศบาลและเอกชน 2) ศึกษาวิธีการและขั้นตอนการใช้มาตรการกฎหมายสาธารณสุขควบคุมดูแลตลาดประเภทที่ 1 3) ศึกษาปัญหาการพัฒนาตลาดและการใช้มาตรการกฎหมายสาธารณสุขควบคุมดูแลตลาดประเภทที่ 1 โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ การสังเกต และการศึกษาเอกสาร ประชากรที่ศึกษา คือ เทศบาลที่มีทั้งตลาดทั้งตลาดของเทศบาลและตลาดเอกชนจำนวน 3 แห่ง ตลาดของเทศบาลจำนวน 3 แห่ง และ ตลาดเอกชน จำนวน 3 แห่ง มีผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้นจำนวน 138 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารเทศบาล เจ้าพนักงานสาธารณสุขของเทศบาล ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุขของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ เจ้าของตลาด ผู้ขายของในตลาด ผู้บริโภค และผู้ที่ถูกอ้างอิงถึง ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยตรวจสอบกับหลักฐานอื่นและสืบหาเจ้าของเรื่องเดิม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

 

          ผลการวิจัย พบว่า ด้านการพัฒนาตลาด เจ้าของตลาดทั้งเทศบาลและเอกชนได้ปฏิบัติตามกฎกระทรวงในบางเรื่อง เรื่องที่พัฒนาตลาดและสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ขายของและผู้บริโภค ได้แก่ เรื่องการจัดการขยะ การจัดระเบียบแผงขายสินค้าในตลาด และการล้างตลาด ด้านการใช้มาตรการกฎหมายควบคุมดูแลตลาดเทศบาลและตลาดเอกชน เทศบาลทุกแห่งมีการออกเทศบัญญัติเรื่องตลาดแล้ว ได้นำเทศบัญญัติไปใช้ควบคุมเพื่อออกใบอนุญาต เก็บค่าธรรมเนียม ส่วนการตรวจด้านสุขลักษณะที่ผ่านมามีการปล่อยปละละเลย จนกระทั่งมีหน่วยงานสาธารณสุขเข้ามากระตุ้นตามโครงการตลาดสดน่าซื้อ เทศบาลจึงได้ตรวจตลาดอย่างจริงจัง เมื่อตรวจพบว่าเจ้าของตลาดหรือผู้ขายของที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่เทศบาลจะให้คำแนะนำโดยวาจาไม่ได้ออกคำแนะนำเป็นหนังสือ ในเรื่องการออกคำสั่ง การเปรียบเทียบปรับ หรือดำเนินคดี เทศบาลยังไม่เคยนำมาใช้กับผู้ฝ่าฝืน ด้านปัญหาการพัฒนาตลาดและการควบคุมดูแลตลาด การปรับปรุงตลาดที่เก่าแก่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมากยังมีเจ้าของตลาดเอกชนที่ไม่ให้ความร่วมมือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ขายของเป็นเรื่องยากและต้องใช้เวลา ผู้บริหารเทศบาลไม่กล้าสั่งปิดตลาดที่ไม่ถูกสุขลักษณะเพราะจะทำให้มีผู้ได้รับความเดือดร้อนมาก ผู้ขายของก็จะเดินขบวนไม่ยอมให้ปิดตลาด

 

A improvement and monitoring of type I market in municipality

Leena Tangkanaphak : Public Health Officer

Wanna Saefu : Public Health Officer Health promotion center region 12, Department of Health Ministry of Public Health

Atchari Nirot : Freelance Researcher

 

Abstract

          The objectives of this qualitative research were 1 ) To find a improvement of municipal and individual type I market. 2) To study the process for applying the public health Act. which related to market. 3) To find problems of improvement and monitoring of type I market using the public health Act. by municipality. In depth interview, focus group, informal interview, observation, and document analysis were done in 138 samples from 3 municipalities 6 markets. The samples were the administrators and municipal officials appointed to execution the Act, the public health officials, the owner of market, the sellers, the buyers and anyone who was mentioned. Content analysis and evidence base checking for validity were done for data analysis. It was concluded that:-

 

          In the topic of market improvement, the municipal and individual market followed the Act in some items. The items which made the sellers and the buyers satisfy were solid waste management, arrangement of the place for putting goods, and market cleaning. In the topic of method and step for applying the Act. Local provisions about the market were issued by all municipalities. License was given for mainly collecting the fee. Sanitary was ignored from the municipality, but it was push up by the public health officials from healthy market project. Suggestion was used for one who make mistake in the Act. Fine and penalty were not applied. Improvement for the old individual market had to spend much money so only some of the owners followed the suggestion. Changing behavior of the seller was difficult and had to take time. The municipal administrator was afraid for order the operator of the market to temporarily suspend the operation of market. If this situation was done it caused trouble to the seller and the consumer. These were the problems of improvement and monitoring of market.

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน