คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การดำเนินงานกฎหมายสาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

03.02.2564
53
0
แชร์
03
กุมภาพันธ์
2564
การดำเนินงานกฎหมายสาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
โดย คณะทำงานกฎหมายระดับศูนย์เขต ศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อมเขต 5 นครราชสีมา
 
บทคัดย่อ
     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือเพื่อทราบสถานการณ์การออกข้อกำหนดท้องถิ่นของราชการส่วนท้องถิ่น (เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล) ในพื้นที่เขต 5 จำนวน 5จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ และมหาสารคาม ประการที่สองเพื่อทราบการดำเนินงานด้านสุขาภิบาล ตลาด ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 ที่ออกความตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และประการที่สามเพื่อศึกษาการส่งเสริมและพัฒนาระบบการใช้ มาตรการด้านกฎหมายสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อคุ้มครองสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่เทศบาลตำบลพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัด นครราชสีมา ศึกษาโดยการสำรวจเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากนั้นนำมาประมวลและวิเคราะห์ผล โดยใช้สถิติเชิงพรรณา สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
     - สถานการณ์การออกข้อกำหนดท้องถิ่นของราชการส่วนท้องถิ่นเป็นดังนี้
 
          - องค์การบริหารส่วนตำบลที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 882 แห่งนั้น มีการออกข้อบังคับตำบลอย่างน้อย 1 เรื่องใน อบต. 388 แห่ง (ร้อยละ 43.99) ส่วนใหญ่เป็นข้อบังคับเรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ในการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายของอบต. 752 แห่ง พบว่า มีการใช้ด้านการตรวจแนะนำ การออกใบอนุญาต การเรียกผู้ประกอบการมาให้ข้อมูลชี้แจง แต่ยังไม่มีการดำเนินคดีทางกฎหมาย
          - เทศบาลทั้งหมด 115 แห่ง ได้รับแบบสอบถามทั้งหมด 67 แห่ง พบว่า ส่วนใหญ่มีการออกเทศบัญญัติเรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลมูลฝอย กิจการที่ เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตลาด สถานที่จำหน่ายและสะสมอาหาร การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ และการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ในการ บังคับใช้มาตรการทางกฎหมายของเทศบาล 67 แห่งนั้น ส่วนใหญ่ใช้เพื่อการออกใบอนุญาต การตรวจแนะนำ การเรียกผู้ประกอบการมาให้ข้อมูลชี้แจงและสั่งปรับปรุงแก้ไขการดำเนินการ
 
     - การดำเนินงานด้านสุขาภิบาลตลาดตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 ได้มีการสอบถามจากเทศบาล 115 แห่ง ได้รับข้อมูล 70 แห่ง สรุปว่าเทศบาลทุกแห่งมีตลาดที่ต้องควบคุมดูแลรวมทั้งสิ้น 107 แห่ง เป็นตลาดที่เทศบาลเป็นเจ้าของ 70 แห่ง (ร้อยละ 65.42) รองลงมาเป็นตลาดเอกชน ดังนั้นเทศบาลจึงต้องดูแลรักษาความสะอาดและดำเนินงานสุขาภิบาลของตลาดตามบทบาทหน้าที่ความเป็นเจ้าของตลาดด้วย นอกจากนี้ยังได้สำรวจปัญหาในการปฏิบัติงานเพื่อดูแลบำรุงรักษาตลาดสรุปได้ว่าตลาดที่มีอยู่เดิมส่วนใหญ่มีสภาพที่ไม่เหมาะสมตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ โดยเฉพาะส้วมและที่ปัสสาวะไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ไม่มีระบบระบายน้ำ บ่อดักไขมัน/การกำจัดมูลฝอยที่ดี เทศบาลยังมีปัญหาในการบริหารจัดการตลาดของเทศบาลเอง และมีปัญหาในการควบคุม กำกับ ดูแลตลาดเอกชนด้วย นอกจานี้ยังขาดความร่วมมือจากผู้ค้าขายและประชาชนในการจัดระเบียบของตลาดด้วย
 
     - ศึกษาการส่งเสริมและพัฒนาระบบการใช้มาตรการด้านกฎหมายสาธารณสุข ในการควบคุม ดูแลสถานประกอบการค้าอาหาร ในเขตเทศบาลตำบลพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ได้มีการสอบถามความคิดเห็นประชาชนและผู้ประกอบการ เกี่ยวกับเทศบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับงานสุขาภิบาลอาหารพบว่า
 
          - ประชาชนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 67.35) ไม่ทราบว่ามีเทศบัญญัติดังกล่าว
          - จากการสอบถามผู้ประกอบการร้านค้า/แผงลอยต่อเทศบัญญัติ เรื่องสถานที่จำหน่ายอาหาร/สะสมอาหาร ซึ่งเป็นผู้เข้ารับการอบรมทั้งหมด 50 คน ได้รับแบบสอบถามครบ 46 ชุด เป็นร้านอาหาร 26 ชุด และแผงลอย 20 ชุด ผู้ประกอบการร้านค้าอาหารส่วนใหญ่มีความเห็นว่าสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้ แต่มีบางข้อที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ คือ เรื่องห้องส้วมสำหรับผู้บริโภคและผู้สัมผัสอาหาร และการแต่งกายของผู้สัมผัสอาหาร และบางข้อที่ไม่แน่ใจว่าจะปฏิบัติได้ คือ ข้อกำหนดเกี่ยวกับเขียงและมีด และการให้ผู้สัมผัสอาหารที่ป่วยด้วยโรคอันเนื่องจากอาหารและน้ำหยุดปฏิบัติงานจนกว่าจะรักษาหายขาดเมื่อสอบถามผู้ประกอบการแผงลอยจำหน่ายอาหาร พบว่าส่วนใหญ่ปฏิบัติตามข้อกำหนดได้ มีเพียงบางข้อที่อาจปฏิบัติไม่ได้ คือสารปรุงแต่งอาหารที่ต้องมีเลขทะเบียนตำรับอาหาร และข้อกำหนดที่ไม่แน่ใจว่าจะปฏิบัติได้ คือ เรื่องการแต่งกายของผู้สัมผัสอาหาร และน้ำดื่มที่สะอาด

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน