คุณกำลังมองหาอะไร?

ครงการศึกษาการบังคับใช้กฎหมายในสถานที่จำหน่ายอาหารตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

03.02.2564
102
0
แชร์
03
กุมภาพันธ์
2564

โครงการศึกษาการบังคับใช้กฎหมายในสถานที่จำหน่ายอาหารตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 : กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร

โดย ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข

 

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยเรื่อง การบังคับใช้กฎหมายในสถานที่จำหน่ายอาหารตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 : กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ การปฏิบัติ ความเห็นต่อข้อบัญญัติและผลของการบังคับใช้กฎหมายสาธารณสุขของ ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหาร ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบ สอบถามที่มีผู้วิจัยสร้างขึ้น ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อคำถามโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน สุ่มตัวอย่างร้านจำหน่ายอาหารแบบเจาะจง โดยกองอนามัยสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร จำนวน 15 เขต ๆ ละ 34 ร้าน ทั้งหมด 510 ร้าน ซึ่งเป็นร้านจำหน่ายอาหารที่มีอาคารพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางเมตร หรือมีพื้นที่เกิน 25 ตารางเมตร ร้านสวนอาหาร ร้านในห้างสรรพสินค้า ไม่รวมแผงลอยหรือรถเข็นที่ใช้จำหน่วยอาหารวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows Version 11.5 กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ P = 0.05 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่สถิติเชิงพรรณา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และค่าฐานนิยม (Mode) สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอนค่าที่ (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) และการวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่ (Multiple Comparison) ด้วยวิธี LSDพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษาและลักษณะของผู้ประกอบการกับการปฏิบัติตามข้อบังคับกรุงเทพมหาคร ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐาน ส่วนกลุ่มอายุ และ ลักษณะของผู้ประกอบการกับความรู้เกี่ยวกับสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P = 0.015 และ P = 0.023 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานในการทดสอบเกี่ยวกับเพศ อายุ ระดับการศึกษา และลักษณะของผู้ประกอบการกับการปฏิบัติตามข้อบังคับกรุงเทพมหานครและความเห็นต่อข้อบังคับและการบังคับใช้กฎหมายสาธารณสุขของผู้ประกอบการในแต่ละพื้นที่ (คือผู้ประกอบการที่มีพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางเมตร หรือผู้ประกอบการที่มีพื้นที่เกิน 25 ตารางเมตร หรือผู้ประกอบการที่มีทั้งพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางเมตร และพื้นที่เกิน 25 ตารางเมตร) ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานส่วนการทดสอบระดับความรู้กับการปฏิบัติตามข้อบังคับกรุงเทพมหานครและความเห็นต่อข้อบัญญัติและการบังคับใช้กฎหมายสาธารณสุขของผู้ประกอบการพบว่า ผู้ประกอบการที่มีพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางเมตร กับผู้ประกอบการที่มีพื้นที่เกิน 25 ตารางเมตร
ไม่แตกต่างกัน P = 0.076 และ P = 0.633 ตามลำดับ ส่วนผู้ประกอบการที่มีทั้งพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางเมตร และที่มีพื้นที่เกิน 25 ตารางเมตร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P = 0.000
ลักษณะของร้านจำหน่ายอาหารที่มีพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางเมตรหรือพื้นที่เกิน 25 ตารางเมตร หรือทั้งพื้นที่ไม่เกินและพื้นที่เกิน 25 ตารางเมตร กับการปฏิบัติตามข้อบังคับกรุงเทพมหานครและความเห็นต่อข้อบัญญัติและการบังคับใช้กฎหมายสาธารณสุขของผู้ประกอบการ พบว่าไม่แตกต่างกัน P = 0.210, P = 0.418 และ P = 0.163 ตามลำดับสำหรับการปฏิบัติตามข้อบังคับกรุงเทพมหานครและความเห็นต่อข้อบัญญัติและการบังคับใช้กฎหมายสาธารณสุขของผู้ประกอบการที่มีพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางเมตร / พื้นที่เกิน 25 ตารางเมตร / ทั้งพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางเมตร และพื้นที่เกิน 25 ตารางเมตร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P = 0.000 เช่นเดียวกัน 

 

สรุป
          ผู้ประกอบการร้านอาหารส่วนใหญ่เห็นว่าการใช้มาตรการทางกฎหมายควบคุมดูแลสถานที่จำหน่ายอาหารนั้นดีเพราะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคและมีความจำเป็นมาก ส่วนปัญหาที่ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารพบอันดับ 1 คือ ความล่าช้าของเจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียน มีขั้นตอนที่ยุ่งยากและเสียค่าธรรมเนียมมากเกินไปและเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมร้อยละ 35.3 พร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะว่า ควรจัดทำคู่มือที่อ่านเข้าใจง่าย เพื่อเผยแพร่ให้กับผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารและประชาชนทั่วไปด้วย

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน