คณะกรรมการสาธารณสุข ชี้ การเผาในที่โล่งกระทบต่อสุขภาพ เล็ง ออกประกาศให้เป็นเหตุรำคาญ
คณะกรรมการสาธารณสุข ชี้ การเผาในที่โล่งกระทบต่อสุขภาพ เล็ง ออกประกาศให้เป็นเหตุรำคาญ
จากข้อมูลการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม พ.ศ. 2555 ในพื้นที่ภาคเหนือ พบว่าสถานการณ์หมอกควันในภาพรวมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและรุนแรงขึ้นอย่างชัดเจน ในหลายจังหวัด จากการตรวจวัดหาค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองรวมหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (พีเอ็ม 10) ในเวลา 24 ชั่วโมง (ใช้วิธีการวัดตามระบบกราวิเมตริก ซึ่งค่ามาตรฐานไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) พบว่าคุณภาพอากาศจัดอยู่ในระดับปานกลางถึงระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพมาก ซึ่งมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดรวมถึงกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดทุกชนิด กลุ่มโรคตาอักเสบ และโรคผิวหนังอักเสบอีกด้วย
สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้อัตราการเจ็บป่วยของประชาชนเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกตินั้นเกิดจากเหตุการณ์ปัญหาหมอกควันจากการเผาในที่โล่ง (Open Burning) ซึ่งมีทั้งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติและจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ เหตุการณ์ไฟป่า การเผาเศษพืชและวัสดุภาคการเกษตร และการเผามูลฝอยชุมชน ก่อให้เกิดสารมลพิษทางอากาศจำนวนมาก เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซต์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซต์ สารอินทรีย์ระเหย ไดออกซิน และฝุ่นละออง เถ้า เขม่าควัน เป็นต้น
สารมลพิษทางอากาศ ต่าง ๆ เหล่านี้ อาจก่อให้เกิดอาการเฉลียบพลันและเรื้อรัง ได้แก่
1. อาการของระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ จาม มีน้ำมูก จนถึงการอักเสบของไซนัส เจ็บ
คอ ไอ มีเสมหะ หรือมีไข้ หรืออาจมีอาการของระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก หรือ หายใจมีเสียงดังวี๊ดเนื่องจากการหดตัวของหลอดลม เป็นต้น
2. ทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis) ส่วนในรายที่มีโรคหัวใจเป็นโรคประจำตัว
อยู่แล้ว เมื่อเกิดโรคหลอดลมอักเสบหรือปอดบวมจะซ้ำเติมให้การทำงานของหัวใจแย่ลง จนเกิดหัวใจวายได้
3. ปอดเป็นพังผืดจากการระคายเคืองเรื้อรัง (Pneumoconiosis)
4. ระคายเคืองตา หรือตาอักเสบ
5. มะเร็งของระบบทางเดินหายใจ PM10 ที่มีส่วนผสมขอสารบางอย่างที่อาจก่อมะเร็ง
เช่น Poly aromatic hydrocarbon (PAH)
คณะกรรมการสาธารณสุข จึงมีมติเห็นชอบ เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้การเผาในที่โล่งเป็นเหตุรำคาญ ซึ่งจะมีผลให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาทิ นายกเทศมนตรี และนายกอบต.ทั่วประเทศ มีอำนาสั่งห้ามประชาชนไม่ให้มีการเผาในที่โล่งได้ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควรหรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 74
ฝ่ายบริหารยุทธศาสตร์
22 มีนาคม 2555
คณะกรรมการสาธารณสุข ชี้ การเผาในที่โล่งกระทบต่อสุขภาพ เล็ง ออกประกาศให้เป็นเหตุรำคาญ จากข้อมูลการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม พ.ศ. 2555 ในพื้นที่ภาคเหนือ พบว่าสถานการณ์หมอกควันในภาพรวมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและรุนแรงขึ้นอย่างชัดเจน ในหลายจังหวัด จากการตรวจวัดหาค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองรวมหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (พีเอ็ม 10) ในเวลา 24 ชั่วโมง (ใช้วิธีการวัดตามระบบกราวิเมตริก ซึ่งค่ามาตรฐานไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) พบว่าคุณภาพอากาศจัดอยู่ในระดับปานกลางถึงระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพมาก ซึ่งมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดรวมถึงกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดทุกชนิด กลุ่มโรคตาอักเสบ และโรคผิวหนังอักเสบอีกด้วย สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้อัตราการเจ็บป่วยของประชาชนเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกตินั้นเกิดจากเหตุการณ์ปัญหาหมอกควันจากการเผาในที่โล่ง (Open Burning) ซึ่งมีทั้งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติและจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ เหตุการณ์ไฟป่า การเผาเศษพืชและวัสดุภาคการเกษตร และการเผามูลฝอยชุมชน ก่อให้เกิดสารมลพิษทางอากาศจำนวนมาก เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซต์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซต์ สารอินทรีย์ระเหย ไดออกซิน และฝุ่นละออง เถ้า เขม่าควัน เป็นต้น สารมลพิษทางอากาศ ต่าง ๆ เหล่านี้ อาจก่อให้เกิดอาการเฉลียบพลันและเรื้อรัง ได้แก่ 1. อาการของระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ จาม มีน้ำมูก จนถึงการอักเสบของไซนัส เจ็บ คอ ไอ มีเสมหะ หรือมีไข้ หรืออาจมีอาการของระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก หรือ หายใจมีเสียงดังวี๊ดเนื่องจากการหดตัวของหลอดลม เป็นต้น 2. ทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis) ส่วนในรายที่มีโรคหัวใจเป็นโรคประจำตัว อยู่แล้ว เมื่อเกิดโรคหลอดลมอักเสบหรือปอดบวมจะซ้ำเติมให้การทำงานของหัวใจแย่ลง จนเกิดหัวใจวายได้ 3. ปอดเป็นพังผืดจากการระคายเคืองเรื้อรัง (Pneumoconiosis) 4. ระคายเคืองตา หรือตาอักเสบ 5. มะเร็งของระบบทางเดินหายใจ PM10 ที่มีส่วนผสมขอสารบางอย่างที่อาจก่อมะเร็ง เช่น Poly aromatic hydrocarbon (PAH) คณะกรรมการสาธารณสุข จึงมีมติเห็นชอบ เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้การเผาในที่โล่งเป็นเหตุรำคาญ ซึ่งจะมีผลให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาทิ นายกเทศมนตรี และนายกอบต.ทั่วประเทศ มีอำนาสั่งห้ามประชาชนไม่ให้มีการเผาในที่โล่งได้ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควรหรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 74 ฝ่ายบริหารยุทธศาสตร์ 22 มีนาคม 2555